วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน

การสุ่มตรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน โดยใช้ I-Kit
รพ.สต.บ้านฝาย  ต.หนองขาม  อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ

การตรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน 
รพ.สต.บ้านฝาย














การตรวจคุณภาพเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน 
รพ.สต.บ้านฝาย





















เกลือ
ชื่อทางเคมี : Sodium Chloride (NaCl)
เกลือบริสุทธิ์นั้นมีลักษณะสีขาว ผลึกรูปร่างไม่คงที่แต่จัดว่าเป็นแบบลูกบาศก์(Cubic system)
มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น(Hygroscopic)และจะมีคุณสมบัตินี้มากขึ้นถ้าเกลือนั้นไม่บริสุทธิ์
การผลิตเกลือจะมีผลต่อคุณสมบัติของเกลือที่มาจากแหล่งที่ต่างกันจะมีสารปนปื้อน(Impurities)
จะแตกต่างกัน โดยเกลือมีแหล่งที่มาดังนี้
1. เกลือสมุทร(Solar Salt) การทำนาเกลือตามแถบชายฝั่งติดทะเลนั้น จะทำโดยการปล่อยให้น้ำทะลไหลเข้านาแล้วกักไว้ ปล่อยให้แสงแดดระเหยน้ำจนความเข้มข้นได้ที่เกลือก็จะตกผลึกลงมา โดยเกลือที่ได้เรียกว่าเกลือสมุทร(Solar Salt)
2. เกลือสินเธาว์(Rock Salt) เป็นการทำเหมืองเกลือจากผลึกเกลือที่จับตัวเป็นก้อนเกลือขนาดใหญ่ตามธรรมชาติที่เรียกว่า ส่าดิน การสกัดผลึกเกลือจากส่าดิน ทำโดยใช้น้ำละลายออกมาหรือสกัดเป็นรูปหินและเกลือก็ได้เกลือนี้มีมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่มีข้อเสียคือขาดธาตุไอโอดีน
3. Salt Lakes เป็นลักษณะของทะเลสาบหรือบางส่วนของน้ำทะเลที่ถูกปิดกั้นทางไว้และแสงแดดระเหยน้ำไปเรื่อยๆ จนความเข้มข้นของเกลือสูงหรือมีเกลือสินเธาว์อยู่สูงตามแถบนั้น และเกิดการชะล้างออกมาในแหล่งน้ำจนความเข้มข้นเกลือสูง และน้ำนี้จะถูกสูบไปสกัดเกลือ โดยการระเหยน้ำออก
4. Brine Wells ภายใต้พื้นดินบางส่วนจะมีชั้นของเกลือสินเธาว์ที่เกาะกันและฝังตัวอยู่ ซึ่งการนำมาใช้สามารถทำได้โดยการใช้น้ำลงไปละลายแล้วสูบขึ้นมา

เกลือที่ได้มาจากหัวข้อต่างๆข้างต้นนี้ยังเป็นเกลือดิบ(Crude Salt)กล่าวคือในผลึกเกลือยังมีสิ่งเจือปนอยู่ซึ่งในอุตสาหกรรมอาหารนั้น สิ่งที่เจือปนในเกลือนั้นจะมีผลต่อคุณภาพของอาหารด้วย เช่น ถ้ามี calcium ion หรือ magnesium ion ปนอยู่ในเกลือที่ใช้ทำอาหารประเภทผัก โดยเฉพาะผักใบอ่อน จะทำให้เกิดการ hardness คือเกิดส่วนแข็งในบางส่วนของอาหาร จาก ferrous,ferric ion หรือcupperion ปนอยู่ในเกลือมากจะทำให้เกิดการหืนของอาหารได้ง่ายดังนั้นในการนำเกลือมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารนั้นจึงมีการนำเกลือมาทำบริสุทธิ์ก่อน

  การขาดสารไอโอดีนของประชากรไทย เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในด้านสาธารณสุขและเป็นอุปสรรคต่อ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้และความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับโรคนี้ โดยคิดว่าการขาดสารไอโอดีนทำให้เกิดอาการคอพอกเพียงอย่างเดียว หากคนไม่คอพอกก็แสดงว่าไม่ขาดสารไอโอดีนและคิดว่าเป็นเฉพาะในวัยเด็กเท่านั้น จึงไม่ให้ความสำคัญกับการกินอาหารที่มีสารไอโอดีนมากนัก โดยหารู้ไม่ว่าไอโอดีนมีผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สมอง และสติปัญญาของคนในทุกช่วงอายุ (ณรงศักดิ์ อังคะสุวพลา : ๒๘ มค. ๒๕๕๒) นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบที่ร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนอายุ ๒–๓ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สมองเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องภายใต้การควบคุมของธัยรอยด์ฮอร์โมน ถ้ามารดาขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงในขณะตั้งครรภ์ ก็จะทำให้พัฒนาการของสมองทารกในครรภ์มารดาผิดปกติเจริญเติบโตไม่เต็มที่ลดความเฉลียวฉลาด(ไอคิว) หรือระดับสติปัญญาของเด็กได้ ๑๐–๑๕ จุด ทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียน เพราะจะทำให้เด็กขาดความกระตือรือร้น เชื่องช้า นอกจากนี้ ยังพบว่าอาจทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แท้ง คลอดก่อนกำหนด พิการแต่กำเนิด ตายคลอดหรือเกิดมาปัญญาอ่อน เป็นใบ้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เป็นเด็กเอ๋อ ( รัชตะ รัชตะนาวิน : ๒๕๕๒ )

   จากการศึกษาภาวการณ์ขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ของคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พบว่า ๑ ใน ๓ ของประชาชนยังไม่รู้จักโรคขาดสารไอโอดีน จึงไม่เห็นความสำคัญของการเสริมไอโอดีนเพื่อป้องโรคดังกล่าว และหญิงตั้งครรภ์ยังได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจากการศึกษานี้ ได้เสนอแนะประเด็นสำคัญ คือ ประชาชนขาดความรู้และการกระจายเกลือไอโอดีนยังไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ โดยเน้นการให้ความรู้ผ่านสื่อทุกสื่อและมีการบังคับให้เกลือทุกชนิดในประเทศไทยต้องเป็นเกลือเสริมไอโอดีน อีกทั้งเครื่องปรุงรสในผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทต้องเป็นเกลือเสริมไอโอดีนเท่านั้น
   ในปี ๒๕๕๑ ได้ทำการศึกษาระดับสติปัญญา(IQ) ของเด็กไทย พบว่าลดลงโดยเฉลี่ยจาก ๙๑ ในปี ๒๕๔๐ เหลือ ๘๘ ในปี ๒๕๔๕ อันเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ซึ่งอยู่ที่ ๙๐ – ๑๑๐ และยังต่ำกว่าระดับเฉลี่ยของสติปัญญาเด็กในประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศอื่นในโลกซึ่งอยู่ที่ ๑๐๔ อยู่ค่อนข้างมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสำรวจระดับสติปัญญาเด็กของกระทรวงสาธารณสุขพบอยู่ในระดับต่ำมากและพบว่ามีการใช้เกลือเสริมไอโอดีน เพียงร้อยละ ๓๕ ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กับอัตราการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนของประเทศอื่น เช่น เวียดนาม (ร้อยละ ๙๓) จีน(ร้อยละ ๙๐) ฟิลิปปินส์(ร้อยละ ๘๙) ลาว(ร้อยละ ๘๕) พม่า(ร้อยละ ๘๔) มองโกเลีย(ร้อยละ ๗๔) อินโดนีเซีย(ร้อยละ ๗๓) และกัมพูชา(ร้อยละ ๗๓)
  ในปัจจุบันประมาณ ร้อยละ ๗๐ ของครัวเรือนทั่วโลก มีการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนอย่างเพียงพอ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการเสริมไอโอดีนในเกลือนั้นน้อยมาก เพียงแค่คนละ ๐.๐๔ ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ๑.๓ บาท/คน/ปี ซึ่งธนาคารโลกคะเนว่า แต่ละดอลลาร์ที่ใช้ไปในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนนั้น จะได้รับผลผลิตตอบแทนกลับมาถึง ๒๘ ดอลลาร์ (โทโมโอะ โอซูมิ ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย มติชนออนไลน์ : ๓๐ พ.ย. ๒๕๕๒)

เกลือบริโภคเสริมไอโอดีนมาตรฐาน คือ มีไอโอดีน 30-50 ppm(ส่วนในล้านส่วน)
การใช้ชุดตรวจสอบทำได้ง่าย มีขั้นตอนดังนี้
1. ตักเกลือ 1 ช้อน เทลงบนแผ่นพลาสติก
2. เทน้ำยา 3 หยดลงบนเกลือ
3. คนให้เป็นวงเท่าฝาจุก
4. เทียบสีกับแถบสีบนกล่อง

I-KIT

1.สามารถบอกได้ว่าเกลือได้ผสมกับไอโอดีนอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
2.สามารถบอกว่าเกลือเสริมไอโอดีนนั้น มีไอโอดีนตามมาตรฐานหรือไม่